ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นางสาว ชมพูนุช ฉัตรพุก ได้เลยค่ะ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

ประวัติผู้แต่ง

     มหาเวสสันดรชาดก มีผู้นิยมแต่งมากมาย กัณฑ์ละหลายสำนวน ในที่นี้จะกล่าวถึงผู้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นตัวอย่าง ๔ กัณฑ์ จากทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
๑ สำนักวัดถนน - กัณฑ์ทานกัณฑ์


     ด้วยเหตุที่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าผู้แต่งเป็นใคร ทราบเพียงแต่ว่าเป็นภิกษุที่อยู่วัดถนน  ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสีกุก  อันเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทองจึงใช้ชื่อผู้แต่งกัณฑ์ทานกัณฑ์ว่อ่านเพิ่มเติม




มงคลสูตรคำฉันท์


มงคลสูตรคำฉันท์

      พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับมงคลสูงสุด ไว้ ๓๘ ประการ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทคำฉันท์  มีลักษณะเด่นทางวรรณศิลป์ ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ แม้จะมีศัพท์บาลีอยู่บ้าง ก่อนนอนคืนนี้น้อมสิ่งดีใส่กมล  สวดสูตรมงคลไม่อับจนในชีวา ู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2466 ฉันทลักษณ์  แต่งเป็นคำฉันท์ คำฉันท์ ประกอบด้วย กาพย์ฉบังและอินทรวิเชียรฉันท์ในเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ จะแทรกคาถาบาลี
เนื้อเรื่องย่อย

         พระอานนท์ เป็นผู้เล่าว่อ่านเพิ่มเติม




ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะคำประพันธ์   ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง   
     เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีนซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา     
     ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรอ่านเพิ่มเติม


หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม




ผู้แต่ง   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
       ชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ  เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ่านเพิ่มเติม